ความเสียหายทรัพย์สิน

5 ขั้นตอน ที่ต้องรู้ ก่อนจะทำประกันสุขภาพกลุ่มให้กับพนักงาน

ประกันสุขภาพกลุ่มให้กับพนักงาน

ในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ เริ่มที่หันมาสนใจการซื้อประกันสุขภาพกลุ่มให้กับพนักงานของตนเอง เพราะเนื่องจากจะทำให้ได้ใจพนักงาน ในเรื่องของสวัสดิ์การณ์ในการทำงานแล้ว ค่าใช้จ่ายของเบี้ยประกันยังสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ทางภาษีได้ด้วย

ดังนั้นเมื่อคุณมีความคิดที่อยากจะทำประกันสุขภาพให้กับพนักงานแล้ว สิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อมาก็คือ อะไรบ้างหละที่คุณต้องรู้บ้าง

ทางเราขอแนะนำ วิธีคิดในการซื้อประกันสุขภาพให้กับพนักงาน เป็นลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. คุณสามารถตั้งกรอบเริ่มต้น ได้จาก 2 ปัจจัย คือ
    • งบประมาณที่คุณตั้งไว้ ในส่วนนี้คุณสามารถคำนวณได้ไม่ยากนัก โดยอาจพิจารณาประกอบกับ ประโยชน์ทางด้านภาษี ที่องค์กรของคุณจะได้ในส่วนนี้
    • สวัสดิ์การณ์ ที่พนักงานจะได้รับ ในส่วนข้อนี้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ดูว่าโรงพยาบาลที่ พนักงานคุณมีโอกาส ไปใช้งานมากที่สุดนั้น ค่าห้องอยู่ที่เท่าใด อาจดูในส่วนของห้องรวม 2 คน หรือ รวม 4 คน สำหรับพนักงานทั่วไป และ ห้องเดี๋ยว สำหรับระดับผู้บริหาร เมื่อมีข้อมูลตรงนี้ คุณก็จะทราบเบื้องต้นแล้วว่า ประกันสุขภาพที่คุณจะซื้อให้กับพนักงานควรมีค่าห้องที่เท่าใด
  2. ต้องเข้าใจว่า แบบประกันสุขภาพโดยทั่วไปแล้ว ประกอบด้วย2 แบบ คือ
    • Standard Billing ซึ่งมีลักษณะที่ผู้เอาประกันภัย จะต้องร่วมจ่าย ( Co Pay ) ในบางรายการ หรือ สำหรับการรักษาบางอย่าง เช่น การผ่าตัด ถึงแม้แบบประกันประเภทนี้จะให้วงเงินในการผ่าตัดมา แต่ในความเป็นจริง จะมีตารางการจ่ายสินไหม เป็น% สำหรับการผ่าตัดแต่ละโรคที่กำหนดไว้ เช่น ในกรมธรรม์ระบุ วงเงิน ค่าธรรมเนียมค่าผ่าตัดว่า 100,000 บาท ปรากฏว่าเราต้องผ่าตัดไส้ติ่ง ค่าใช้จ่าย 120,000 บาท วิถีการก็คือต้องไปดูตารางแนบกรมธรรม์ ซึ่งระบุ ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดไส้ติ่ง 50% ของจำนวนเงินผลประโยชน์สูงสุด ในที่นี้ก็คือ 50% ของ 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับ 50,000 บาท ดังนั้นประกันจ่ายในส่วนของ ค่าธรรมเนียมผ่าตัด 50,000 บาท ผู้ป่วยจ่าย 70,000 บาท  ซึ่งประกันสุขภาพพนักงานส่วนใหญ่ จะเป็นประเภทนี้
    • Lum Sump เป็นแบบประกันที่บริษัทประกันจะให้วงเงินสูงสุดมา แล้วค่าใช้จ่ายในการรักษา ก็จะใช้จากวงเงินนั้น ยกเว้น ค่าห้อง ได้ตามที่กำหนด

สามารถ หาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kstronginsure.com/read/13885

  1. เลือกระดับความคุ้มครองที่ต้องการ โดยการแบ่งหมวดของการประกันสุขภาพ ถ้าแบ่งเป็นหลักใหญ่ๆ เลยจะมี 3 หมวด คือ

– ค่ารักษาพยาบาลกรณี คนไข้ใน ซึ่งถือเป็นความคุ้มครองหลักของกรมธรรม์ประกันภัย จะแบ่งอีกเป็น

  • ค่าห้อง ( สูงสุด/วัน ) ดูว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง โดยปกติจะรวมถึง ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล
  • ค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายเช่น ค่ายา ค่าอุปกรณ์การแพทย์ ค่าแพทย์ที่ปรึกษา และอื่นๆ
  • การรักษาโดยการผ่าตัด ครอบคลุม ค่าธรรมเนียมการผ่าตัด ค่าแพทย์ผ่าตัด
  • ค่าแพทย์เยี่ยมไข้
  • อุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นส่วนที่กรมธรรม์ขยายความคุ้มครองให้ โดยการชดเชยเป็นจำนวนเงินกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ

– ค่ารักษาพยาบาลกรณี ผู้ป่วยนอก ( OPD ) เป็นส่วนความคุ้มครองเพิ่มเติม ซึ่งต้องเสียเบี้ยเพิ่มสำหรับความคุ้มครองส่วนนี้ คือในกรณีที่เราเจ็บป่วย แต่ไม่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยในความคุ้มครอง อาจแบ่งเป็น

  • วงเงินต่อปี เช่น ปีละไม่เกิน 10,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • วงเงินต่อหนึ่งครั้ง จำกัดจำนวนครั้ง/ 1 ปี เช่น ครั้งละ 1,500 บาท ได้สูงสุด 30 ครั้งต่อปี

– ความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่นๆ ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ ตามสวัสดิ์การณ์ที่เราอยากให้กับพนักงานของเรา

  • ค่ารักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง ( Major Medical )เป็นกรณีที่สามารถมาช่วยค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่นกรณีการผ่าตัดไส้ติ่งที่ยกตัวอย่างข้างต้น ความคุ้มครองในส่วนนี้ จะมาช่วยในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิน และผู้ป่วยต้องรับผิดชอบ โดยบริษัทประกันจะให้เป็น% ของค่าใช้จ่ายที่เกินนั้นแต่ไม่เกินวงเงินที่ให้ เช่นถ้าเราซื้อความคุ้มครองนี้โดยระบุว่า 80% แต่ไม่เกินวงเงินที่ 100,000 บาท และในการผ่าไส้ติ่งข้างต้นเราต้องจ่ายเพิ่ม  70,000 บาท ความคุ้มครองในส่วนนี้ ก็จะช่วยจ่ายเพิ่ม 80%*70,000 ซึ่งเท่ากับ 56,000 บาท ( ในกรณีนี้ถ้าทางบริษัทไม่ต้องการซื้อความคุ้มครองส่วนนี้เพิ่ม ก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้ประกันสังคมแทน )
  • ค่ารักษาพยาบาลด้านทันตกรรม จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับการขูดหินปูน การอุดฟัน ถอนฟัน การตรวจสุขภาพฟัน และการเอ็กซเรย์ฟัน ( ความคุ้มครองอาจแตกต่างในแต่ละบริษัทปรันภัย )
  • ความคุ้มครองสูติกรรม ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรแต่ละครั้ง( โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับบุตร )

  1. สิ่งที่ต้องรู้เพิ่มเติม
    • ในแบบประกันนี้บังคับให้ต้องทำให้กับพนักงานทุกคน
    • พนักงานที่ทำต้องมีประกันสังคมรองรับอยู่ด้วย
    • อายุเฉลี่ยของพนักงานถ้าไม่สูงมากนักเช่น 30 – 40 ปี จะทำให้การประกันสุขภาพกลุ่มง่ายขึ้น
    • ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย
  2. ให้คิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เพราะสวัสดิ์การณ์ด้านสุขภาพ เมื่อผู้ใช้สามารถใช้แล้วก็จะมีแนวโน้มในการใช้มากขึ้น จากเจ็บป่วยเล็กน้อยไม่เคยไปหาหมอ ซื้อยากกินเองก็จะไปหาหมอแทน ซึ่งสุดท้ายเมื่อมีการใช้ประกันสุขภาพมากขึ้นย่อมหมายถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายไป ผลสุดท้ายก็จะส่งผลกระทบในส่วนของเบี้ยประกันในปีต่ออายุ ดังนั้นถ้ายังไม่เคยทำประกันสุขภาพกลุ่มมาก่อน ทางเราแนะนำว่าให้เริ่มทำแบบค่อยเป็นค่อยไปจะดีที่สุด

สามารถ หาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kstronginsure.com/read/13885