เรื่องเล่าจากสน. ตอนที่ 2

ความเดิมจากตอนที่แล้ว หลังจากอาจารย์สาว ได้พักฟื้นต่อเนื่องอีก 3 วัน จนแน่ชัดแล้วว่า อาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ ได้หายสนิทจนไม่น่ากังวลแล้ว จึงมีการนัดหมายคู่กรณีอีกครั้งที่สถานีตำรวจ

อาจารย์สาว “ คุณตำรวจคะ วันนี้ชั้นจะมา เจรจาเรื่องค่าเสียหายค่ะ อย่างไรก็ต้องช่วยให้ความเป็นธรรมกับดิชั้นนะคะ”

ร้อยเวร “ ผมก็ทำตามหน้าที่นะครับ ถ้าอยู่ในอำนาจหน้าที่ ผมจะดำเนินการให้ครับ ว่าแต่ค่าเสียหายที่ต้องการมีอะไรบ้างครับ”

อาจารย์สาว “เบื้องต้นที่ดิฉันคิดมา ก็จะมี 1.ค่าซ่อมรถให้กลับในสภาพเดิม 2.ค่ารักษาพยาบาลที่ดิฉันได้รับบาดเจ็บ และ 3.ค่าเดินทางในช่วงที่ดิฉันไม่มีรถใช้ค่ะ ต้องบันทึกในบันทึกประจำวันให้ชดใช้ให้ครบถ้วนทุกบาททุกสตางค์เลยนะคะ”

ร้อยเวร “ในเรื่องของการเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เสียหายต้องไปเรียกร้องกับประกันของคู่กรณีนะครับ มากน้อยก็ต้องไปตกลงกันผมคงไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวได้”

อาจารย์สาว “ชั้นไม่ยอมนะคะ ถ้าอย่างนั้นชั้นจะไปเรียกร้องได้อย่างไรคะ บลา บลา บลา”

ประเด็น : จริงครับ ในส่วนของค่าเสียหาย คงยากที่จะให้ร้อยเวร บันทึกรายละเอียดทั้งหมด เนื่องจากนอกจากค่ารักษาพยาบาลแล้ว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เรายังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถ หรือ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เพราะเราไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาในการซ่อมกี่วัน

สิ่งที่ควรทำ : อาจารย์ อย่าไปกดดันร้อยเวรครับ จริงตามที่ร้อยเวรพูด แต่เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากการลงบันทึกประจำวันได้ครับ โดยเลือกเนื้อหาที่ลง ให้เป็นประโยชน์กับเราและอยู่ในอำนาจที่ร้อยเวรสามารถทำได้  ซึ่งเดี๋ยวทางเราจะแนะนำอาจารย์นะครับว่าควรลงอย่างไรครับ ตอนนี้กลับไปทำความเข้าใจกับร้อยเวรก่อน”

อาจารย์สาว “โอเคค่ะ คุณตำรวจ ฉันพอเข้าใจแล้ว… ดิฉันจะรบกวนเท่าที่ทำได้ค่ะ”

ร้อยเวร “ดีแล้วครับ แต่ อึม เบื้องต้นผมลืมแจ้งไปว่า ทางอาจารย์ ต้องจ่ายค่ารถยกจากที่เกิดเหตุมาสถานีตำรวจนะครับ ทั้งหมดก็ 2,000 บาท นะครับ”

อาจารย์สาว “อะไรกันค่ะ นี่ไม่ทันไร ชั้นก็มีค่าใช้จ่ายแล้วหรือค่ะ แล้วชั้นต้องจ่ายด้วยหรือนี่ ทั้งๆ ที่ชั้นไม่ได้ผิด”

ร้อยเวร   “ก็มันเป็นรถของคุณ ผมก็ต้องเก็บจากคุณสิครับ”

ประเด็น : ค่ารถยกในกรณีนี้ จะมี 2 ส่วนคือ ค่ารถยกจากที่เกิดเหตุมาที่สถานีตำรวจ ซึ่งทางเจ้าของรถต้องชำระเป็นเงินสดให้กับทาง จนท.ตำรวจ ( สามารถเบิกคืนกับบริษัทประกันภัยได้ภายหลัง ) กับ ค่ารถยกจากสถานีตำรวจไปอู่ โดยส่วนนี้ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้จัดการเรื่องรถยก แต่ในกรณีนี้ ทางอาจารย์เป็นฝ่ายถูกนะครับ ทางเราควรต้องจ่ายค่ารถยกส่วนนี้หรือ ?

สิ่งที่ควรทำ : บอกทางตำรวจเลยว่าเราไม่ใช่ฝ่ายผิด เราไม่จ่ายและให้ทางคู่กรณีที่ผิดเป็นฝ่ายจ่ายแทนเรา ลองคิดดูนะครับ ถ้าแค่ค่ารถยก 2,000 บาท ยังไม่ยอมจ่ายให้เรา แล้วส่วนที่เหลือเราจะไปเรียกร้องได้หรือครับ…

อาจารย์สาว   “ค่ารถยก 2,000 บาท ดิชั้นไม่จ่ายนะคะ ขับรถมาดีๆ ถูกชนทำไมต้องมาจ่าย ( ทำท่าทางโกรธไม่พอใจ ) คนนั้นสิคะที่ต้องเป็นคนจ่ายให้ชั้น”  …. พร้อมกับชี้ไปที่คู่กรณี

คู่กรณี “ ผมต้องจ่ายหรือครับ คุณตำรวจไม่ใช่รถผมนะครับ”

อาจารย์สาว สวนทันควันก่อนที่ตำรวจจะเอ่ยปาก  “ก็คิดเอาเองนะคะ ขับรถชนรถชั้นเสียหาย และดิชั้นได้รับบาดเจ็บ เป็นคดีอาญา เรื่องก็ยังไม่จบจากสถานีตำรวจ ถ้าอย่างนั้นวันนี้ก็กลับค่ะ ไม่ต้องเจรจาไม่ต้องจบเรื่องกัน”

คู่กรณี พลัน หันไปมองหน้า ตำรวจ ซึ่งพยักหน้าส่งสัญญาณให้ยอม….

คู่กรณี  “โอเคครับๆ เดี๋ยวผมจ่ายเอง พร้อมกับควักเงินออกมาจากกระเป๋า 2,000 บาท ยื่นให้กับคุณตำรวจ”

หลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนการลงบันทึกประจำวันเพื่อจบคดี โดยสรุปเนื้อหาในบันทึกประจำวันก็คือ

  1. คู่กรณีระหว่างใครกับใคร ต่างฝ่ายขับรถทะเบียนอะไร
  2. ใครมาเลนส์ใดและพฤติกรรมการขับรถอย่างไร ใครผิดใครถูก
  3. ทางฝ่ายผิดยินยอมรับผิดและชดใช้ค่าเสียหาย โดยทางเราระบุแยกความเสียหายที่ได้รับดังนี้
  • ค่ารักษาพยาบาลอาการที่เจ็บ โดยมีใบรับรองแพทย์และใบเสร็จชัดเจน
  • ค่าซ่อมรถให้กลับมาสู่สภาพที่สมบูรณ์ ( ในส่วนนี้ทางเราซ่อมกับบริษัทประกันเราก่อน แล้วบริษัทประกันฝั่งเราค่อยไปเรียกร้องจากบริษัทประกันคู่กรณีภายหลัง )
  • ค่าขาดประโยชน์การใช้รถ ( ซึ่งยังไม่รู้จำนวนวันในการซ่อม เราจึงระบุเพื่อให้เห็นถึงเส้นทางการเดินทางของเราในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เห็นว่าเราต้องเดินทางไปที่ใดและได้รับผลกระทบอย่างไร ) ในกรณีนี้อาจารย์สาวระบุว่า
    • จันทร์-เสาร์ เดินทางจากบ้านไป-กลับ ที่ ติวานนท์ ไปสอนหนังสือที่ มหาวิทยาลัย แถวถนนวิภาวดี
    • อาทิตย์ เดินทางจากบ้านไปห้างใกล้บ้าน และที่ต่างๆ เพื่อกิจธุระจำเป็น

ในส่วนของค่าขาดประโยชน์การใช้รถนั้น ในทางปฏิบัติเมื่อไปเรียกร้องกับบริษัทประกันภัย จะมีปัญหาทุกครั้งเพราะบริษัทประกันจะไม่จ่ายตามจำนวนวันของการซ่อม โดยข้ออ้างเรื่องไม่นับช่วงรออะไหล่ หรือ การซ่อมนานเกินมาตรฐาน ดังนั้นหลายครั้งเรื่องจึงต้องถึง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ( คปภ.) เพื่อเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย การระบุข้อความตาม ข้างต้นจะเป็นการแสดงหลักฐานตั้งแต่เริ่มต้นว่าความจำเป็นในการใช้รถของเรานั้นเป็นอย่างไร และได้แจ้งให้คู่กรณีและบริษัทประกันคู่กรณีทราบตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งจะทำให้เรามีน้ำหนักมากขึ้นในการเรียกร้อง

สนใจทำประกันรถยนต์ สามารถติดต่อเราได้ เพราะเรามีประสบการณ์โดยตรงในการประกันภัย เราสามารถให้คำปรึกษา บริการ และให้คำแนะนำได้

TEL : 02-848-9858-9 , Mobile 083-246-3599 , Line@ @k.strong ,

Email : [email protected]