ค่าสินไหมทดแทน คืออะไร

ค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทน หรือ บางคนอาจจะเรียกว่า ค่าทำขวัญ ในทางประกัน คือ เงินค่าสินไหมที่ประกันจะจ่ายให้กับผู้บาดเจ็บ เพราะผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวในช่วงที่บาดเจ็บ ไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้ โดยจะพิจารณาจาก ระยะเวลาในการพักรักษาตัว และ รายได้ของคนเจ็บ ( สิ่งที่ต้องใช้คือ ใบรับรองแพทย์ และ ใบรับรองเงินเดือน )

กรณีนี้เป็นกรณีตัวอย่าง ของอุบัติเหตุที่ ทำให้ผู้โดยสารที่มากับรถคันที่ถูกได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้ เพื่อให้เห็นขั้นตอนปฏิบัติที่ควรจะเป็น เราขอสรุปดังนี้

  1. ในกรณีนี้มีผู้บาดเจ็บถือว่าเป็นคดีอาญา ดังนั้นควรมีการบันทึกประจำวัน เบื้องต้น โดยคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ที่เกิดเหตุ
  2. ให้คนเจ็บ หาหมอ ตรวจให้ละเอียดว่ามีการอาการเจ็บเช่นใดบ้าง
    1. กรณีบาดเจ็บน้อย ไม่ต้อง Admit ถ้าสำรองจ่ายไปก่อนเก็บใบเสร็จไว้
    2. กรณีบาดเจ็บมาก ต้อง Admit ให้ใช้สิทธิ์ พรบ. โรงพยาบาลประสานกับบริษัทประกันโดยตรง สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้น
  3. เมื่อคนเจ็บหายดี หรือ พอจะไปสถานีตำรวจได้ ให้นัดหมายทุกฝ่ายอีกครั้งที่สถานีตำรวจ เพื่อให้ ร้อยเวร ทำการสอบถาม และ เจรจาเรื่องค่าสินไหม
    1. ถ้าช่องทางชัดเจนว่าใครผิด-ถูก ก็เป็นตามนั้น
    2. ถ้ายังเป็นประเด็น ว่าใครผิด-ถูก ร้อยเวร จะชี้ให้
  4. การเจรจาเรื่องค่าเสียหาย สิ่งที่ฝ่ายผิดต้องชดใช้ ให้กับฝ่ายถูก
    1. ค่าซ่อมรถยนต์ของเรา
    2. ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ กรณีที่รถต้องซ่อมเป็นระยะเวลาหลายวัน ( มากน้อยขึ้นกับเหตุผลและการต่อรอง )
    3. ค่ารักษาพยาบาล ตามใบเสร็จที่รักษามา ( จึงต้องเก็บใบเสร็จ ทุกใบที่ได้สำรองจ่ายไปก่อน )
    4. ค่าสินไหมทดแทน/ค่าทำขวัญ ในทางประกันคือ เงินค่าสินไหมที่จะจ่ายให้ผู้บาดเจ็บ เพราะเขาต้องพักรักษาตัวในช่วงที่บาดเจ็บ ไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้ หลักๆ พิจารณาจาก ระยะเวลาในการพักรักษาตัว และ รายได้ของคนเจ็บ ( สิ่งที่ต้องใช้คือ ใบรับรองแพทย์ และ ใบรับรองเงินเดือน )

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการเรียกร้องและชดใช้ค่าสินไหมแต่ละข้อก็ควรให้อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความเป็นไปได้ เพราะจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายไม่เสียเวลาในการเจรจาต่อรอง อะไรที่สมควรได้ก็รักษาสิทธิ์ของตน แต่ก็ให้พอเหมาะพอควร ไม่มากมายเกินไปจนอีกฝ่ายไม่สามารถจ่ายได้ ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายต่างประนีประนอมกันด้วยเหตุผล ทุกอย่างก็จะจบลงได้ด้วยดี