ขับรถชนรถที่จอดขวางประตูหน้าบ้าน

ขับรถชนรถที่ขวางประตูบ้าน

จากกรณีที่เป็นข่าวดังในตอนนี้  ป้าใจเด็ดใช้ขวานจาม รถที่จอดขวางหน้าบ้าน

จนเป็นที่วิพากษ์วิจารว่าเกินกว่าเหตุหรือไม่ ในขณะที่หลายๆคนก็ แสดงความเข้าใจป้าที่เหลืออด เพราะเจอเหตุการณ์แบบเดียวกันซ้ำซาก จนสุดท้ายทนไม่ไหวเหลืออดจนต้องบันดาลโทสะออกมาตามภาพที่เห็น

ในขณะเดียวกัน ทางคู่กรณีก็เข้าแจ้งความกับป้า หลายกระทง ไม่ว่าจะเป็นเจตนาทำให้เสียทรัพย์ , พกพาอาวุธในที่สาธารณะ และอาจจะมีข้อหาอื่นๆ ตามมาอีก ซึ่งก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการกฎหมาย แต่ในแง่ของความรู้สึกและความคิดเห็นก็คงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคล

แต่ประเด็นที่เราหยิบยก เรื่องนี้ขึ้นมาก็คือ ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์เดียวกับป้า แต่แทนที่จะใช้ขวานจาม มาเป็นการขับรถของเราชนกระบะที่จอดขวางหน้าบ้านแทน ในทางประกันภัย เราจะสามารถเคลมกับบริษัทประกันภัยได้หรือไม่ และประเด็นใดๆ ที่เราควรทราบ

ในที่นี้ถ้าเราตัดสินใจเช่นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  • ความเสียหายของรถคู่กรณีที่ถูกเราชน ( อยู่ในส่วนของ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก )
  • ความเสียหายของรถเราเอง ( อยู่ในส่วนความเสียหายต่อตัวรถยนต์ )

สมมติว่ากรณีนี้ เราประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 นะครับเพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมที่สุด

สิ่งที่เราต้องดู ในเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ก็คือ ส่วนของ ข้อยกเว้น ครับ ทั้งในส่วนของ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และ ความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกัน ซึ่งในทั้ง 2 ส่วนนี้ มีข้อความที่ระบุไว้ เหมือนๆ กันและ เกี่ยวข้องใกล้เคียงกับกรณีนี้ก็คือ

การยกเว้นทั่วไป ที่ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจาก……..

  • ยกเว้นเพราะ การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น ใช้รถยนต์ไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยาเสพติด เป็นต้น

ในข้อนี้ ต้องตีความว่าการขับรถยนต์ชนรถคู่กรณีจนเสียหายนั้น เป็นการใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ถึงจะบอกได้ว่าผิดหรือไม่ผิด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เราแจ้งประกันว่าชนเพราะอะไร เช่น

  • ถ้าแจ้งประกันว่า ที่ชนเพราะทนไม่ไหว โกรธมาก อยากเอาคืน ในแง่นี้ ก็ถือว่าหมิ่นเหม่ เหมือนกันว่าใช้รถยนต์ในทางที่ผิด เพราะสามารถตีความได้ว่าเจตนาทำให้เสียทรัพย์
  • แต่ถ้าบอกประกันว่า ที่ชนเพราะเป็นอย่างอื่น …………. ผลก็จะแตกต่างกันไป
  • ยกเว้นเพราะ การใช้รถจูงหรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันภัยไว้กับบริษัทด้วย หรือเป็นรถลากจูงโดยสภาพ หรือรถที่มีระบบห้ามล้อเชื่อมโยงถึงกัน

ในข้อยกเว้นข้อนี้ จากข้อความก็ต้องดูลักษณะของการชน ว่าเป็นการชนลักษณะใด คือ

  • ถ้าเป็นการใช้รถของเราผลักหรือดัน รถคู่กรณีที่จอดขวางหน้าบ้าน ให้ออกพ้นทาง ก็อาจเข้าข่ายการใช้รถจูงหรือผลักดัน ซึ่งก็จะเข้าข้อยกเว้นข้อนี้ แต่ถ้า

ลักษณะแผลรถที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การผลักดัน แต่เป็นการชนเลย จะถือว่าเข้าตามเงื่อนไขข้อยกเว้นข้อนี้หรือไม่

สรุปก็คือ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายของรถคู่กรณี หรือ ความเสียหายของรถยนต์ เราเอง ถ้าสาเหตุที่เราชน และ รูปแบบของความเสียหายของรถทั้ง 2 คัน ซึ่งบ่งบอกลักษณะของการชน เข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อด้านบน ทางบริษัทประกันภัยก็อาจมีสิทธิ์ปฎิเสธได้นะครับ

  • ขอเพิ่มเติมอีกประเด็นที่อาจสงสัย ก็คือ ถ้าประกันปฎิเสธไม่คุ้มครอง แล้วรถคู่กรณี จะไปเรียกร้องจากใคร

ในประเด็นนี้ถ้าคุณเป็นคู่กรณีก็ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะ เงื่อนไขในกรมธรรม์ระบุว่า “บริษัทประกันไม่สามารถ อ้างเงื่อนไขข้อยกเว้นนี้เพื่อต่อสู้กับบุคคลภายนอกได้”  คือ อย่างไรก็แล้วแต่ บริษัทประกันภัย ยังคงต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่คู่กรณีอยู่ดี

แต่หลังจากที่ชดใช้ไปแล้ว บริษัทประกันภัยก็จะเรียกร้องคืนจาก ผู้อาประกันภัยนั่นเอง ตามข้อความในกรมธรรม์ที่ระบุว่า “ ผู้เอาประกันภัยจะต้องชดใช้จำนวนเงินดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทประกันภัย นับตั้งแต่ได้รับหนังสือเรียกร้องจากบริษัทประกันภัย” ครับ

ขอย้ำนะครับ ว่าเรียกคืนจากผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่คนขับรถ ดังนั้นจะให้ใครยืมรถไปใช้ก็ต้องคิดดูกันดีๆ นะครับ

ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นข้อมูล นะครับ  แล้วถ้าเป็นคุณหล่ะที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนี้  ตกลงคุณจะตัดสินใจทำอย่างไร แล้วคุณจะบอกประกันว่าชนเพราะอะไร

สนใจทำประกันรถยนต์ สามารถติดต่อเราได้ เพราะเรามีประสบการณ์โดยตรงในการประกันภัย เราสามารถให้คำปรึกษา บริการ และให้คำแนะนำได้

TEL : 02-848-9858-9 , Mobile 083-246-3599 , Line@ @k.strong ,

Email : [email protected]