
หลังจากที่มีข่าวว่าบริษัทอาคเนย์ประกันภัยฯ ส่งคำขอยกเลิกกิจการและคืนใบอนุญาต ให้กับทาง คปภ.พิจารณา เมื่อวันที่ 26/1/65 ที่ผ่าน จนเป็นข่าวใหญ่และเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
แต่ถ้ามองดูในรายละเอียดแล้วจะมีหลายประเด็น ที่ควรทำความเข้าใจ
- เครือไทยโฮลดิ้งส์ เกี่ยวพันกับบริษัทอาคเนย์ฯอย่างไร ? ทำไม บอร์ดของบริษัทอาคเนย์ประกันภัย ต้องมีมติตามบอร์ดของบริษัทไทยโฮลดิ้งส์ ? และทำไมต้องมีชื่อ บริษัทอินทรประภัย เข้ามาเกี่ยวข้อง แผนภาพด้านล่างจะทำให้เราถึงบางอ้อ

เครือไทยโฮลดิ้งส์ ถือหุ้นในอาคเนย์ประกันภัย 97.33% ดังนั้นจึงไม่แปลกที่บริษัทอาคเนย์ต้องทำตามที่ เครือไทยโฮลดิ้งส์กำหนด และถ้าเหลือบไปมองด้านล่างก็จะเห็น ชื่ออินทรประกันภัย อีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประกันวินาศภัย และอยู่ภายใต้เครือไทยโฮลดิ้งส์ เช่นเดียวกัน
คำถามคือ เครือไทยโฮลดิ้งส์ จะหยุดดำเนินกิจการอาคเนย์ประกันภัย โดยทิ้งลูกค้าฐานเดิมที่ไม่ใช่กรมธรรม์โควิด จำนวน 8 ล้านกว่าฉบับเลยหรือ ?
อันนี้ดูไม่ยาก ลองเดินเข้าไปที่อาคเนย์ประกันภัย แล้วดูว่า พนักงานยังดูปกติไหม? บรรยากาศการทำงานเป็นอย่างไร? ซึ่งน่าจะพอสัมผัสได้ เพราะพนักงานที่กำลังจะตกงานคงดูอาการได้ไม่ยากนัก แล้วเราก็คงคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต
2. ถ้าดู พรบ.ประกันวินาศภัย ม.57 เกี่ยวกับบริษัทประกันที่ประสงค์ จะเลิกกิจการ จะเห็นว่า ทางคปภ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การเลิกกิจการนี้ไม่กระทบผู้มีส่วนได้เสีย

ซึ่ง ทางอาคเนย์ฯ มีการขอให้ทาง คปภ.พิจารณา ให้ทาง กองทุนประกันวินาศภัย เพื่อเป็นผู้ทำหน้าที่เหล่านี้ ( โดยทางอาคเนย์ฯ จะให้การสนับสนุนทุกด้าน ) อันได้แก่
- ดำเนินการคืนเบี้ยให้กับผู้เอาประกันภัย
- กรมธรรม์ที่ไม่ใช่โควิด 8,629,039 กรมธรรม์
- กรมธรรม์โควิด 1,851,921 กรมธรรม์
- จัดหาผู้รับประกันรายใหม่ ให้กับลูกค้าเดิม
ประเด็นที่น่าในใจคือ
- ถ้าดูตามกฎหมาย กองทุนประกันวินาศภัย สามารถทำได้หรือไม่ ในเมื่อกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เฉพาะกรณีบริษัทประกันถูกเพิกถอนใบอนุญาต และ ล้มละลายเท่านั้น

2.ถ้าได้ ทางกองทุนประกันวินาศภัย จะสามารถทำได้ดีและมีประสิทธิภาพหรือ สำหรับผู้เอาประกันของอาคเนย์กว่าอีก 10 ล้านกรมธรรม์ ในขณะที่ของเดิม เอเชียประกันภัย กับ เดอะวันประกันภัย กองทุนประกันวินาศภัย ยังเคลียไม่จบ !!!
มันจึงเป็นบททดสอบโดยแท้ ของ คปภ.ในการตัดสินใจครั้งนี้ คือ
อนุญาตให้เลิกกิจการและคืนใบอนุญาตหรือไม่
- ถ้าไม่ให้เลิก สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ
- อาคเนย์ไม่น่าจะเพิ่มทุน และยอมให้เพิกถอนใบอนุญาต ผลที่ตามมา ผู้เอาประกันทั้งโควิดและไม่ใช่กรมธรรม์โควิดได้รับผลกระทบ รวมถึงคู่ค้ารายอื่นๆ
- ภาระมหาศาลตกไปอยู่ที่ คปภ. โดย กองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะรับผิดชอบไหวหรือไม่ และจะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบไหม?
- จำนวนพนักงานอีกมากที่ต้องตกงาน
- ถ้าให้เลิกกิจการ
- ลูกค้าที่ถือกรมธรรม์ของอาคเนย์ จะหมดความคุ้มครองลง และส่งผลตีกลับมายัง คปภ. ในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
- กองทุนประกันวินาศภัย มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำหน้าที่ ตามที่อาคเนย์ขอให้พิจารณาหรือไม่ ? และ กองทุนประกันวินาศภัย ทำไหวหรือไม่ ?
สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้า คปภ. อนุญาตให้เลิกกิจการ และให้อาคเนย์ดำเนินการคืนเบี้ยและจัดหาผู้รับประกันภัยใหม่เอง จะเป็นเข้าทางใครบางคนไหม ?
มันจึงเป็นเกมที่น่าสนใจ สำหรับการตัดสินใจของ คปภ.ที่จะรู้ผลใน 28/1/65 นี้ สิ่งสำคัญขอให้ผู้มีอำนาจและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เห็นกับผลประโยชน์โดยรวม ผลดีของอุตสาหกรรมประกันภัยบ้านเราเป็นสำคัญ อย่ายึดเอาศักดิ์ศรี หรือหน้าตา มาฟาดฟันกัน โดยเอาลูกค้ามาเป็นเครื่องต่อรอง