Tag: ความรู้เรื่องประกันรถยนต์
หลายท่านคงจะเคยสงสัยว่า เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ รถของเราถูกชนและเราเป็นฝ่ายถูกนั้น นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถเราแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ อีก เช่น ค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางในขณะที่เรานำรถเข้าซ่อม หรือที่เรียกกันว่า “ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม” นั้น เราสามารถเรียกร้องได้ไหม ? คำถามนี้คุณคงหาคำตอบได้ไม่ยากจากกระทู้ต่างๆ ที่มีมากมายใน Internet .. ใช่ครับ เราสามารถเรียกร้องได้ แต่ต้องเรียกร้องกับทางคู่กรณีที่เป็นต้นเหตุ ถ้าทางคู่กรณีมีประกันภัยก็เรียกกับบริษัทประกันภัยของคู่กรณี หลายๆ ครั้งมีคำถามจากลูกค้าว่า ทำประกันรถยนต์ประเภท 1 ทำไมไม่ให้เบิกกับบริษัทประกันภัยของเราเลย หรือทำไมบริษัทประกันภัยของเราไม่ไปดำเนินการเบิกค่าขาดประโยชน์นี้ จากคู่กรณีให้ ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ อธิบายที่มาที่ไปนะครับ ประเด็นแรกเลย ที่มาที่ไป ที่ทำให้สามารถเรียกร้อง “ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม ” มาจากอะไร ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ “ค่าสินไหมทดแทน” ตามมูลละเมิด ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ปพพ. มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี […]
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองการประกันรถยนต์ ประเภท ความคุ้มครองต่างๆ ข้อดีข้อเสีย โดยเปรียบเทียบ การประกัน ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความรับผิดต่อผู้เอาประกัน เอกสารแนบท้าย ต่อชีวิต หรืออนามัย ร่างกาย ต่อทรัพย์สิน ต่อตัวรถ ความสูญหาย และไฟไหม้ อุบัติเหตุ ส่วนบุคคล ค่ารักษา พยาบาล ประกันตัว ผู้ขับขี่ ระดับความประหยัด ทุนใน เอาประกัน ซ่อมรถผู้ สถานการณ์ ที่เคลมได้ ความง่ายใน การเคลม 1 x x x x x x x 0 4 4 4 2 x x – x x x x 2 0 0 1 3 […]
สิ่งสำคัญที่คุณต้องดูคือตรวจสอบว่าเอกสารแผ่นนั้นคือใบเคลม หรือเอกสารยืนยันการรับผิดชอบ นอกจากนั้นให้ดูว่าลงรายละเอียดถูกต้องหรือไม่ ทะเบียนรถ รายละเอียดตำแหน่งรถที่ได้รับความเสียหาย รายละเอียดที่บอกว่า ฝ่ายถูก ฝ่ายผิด คดีความ( กรณีที่ยังไม่สรุปผล ) ดูว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ดูว่ามีการลงความเสียหายส่วนแรกหรือส่วนร่วมที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบหรือไม่ ถ้ามีต้องดูว่าด้วยเงื่อนไขใดและถูกต้องหรือไม่ ดูว่าพนักงานที่มาปฎิบัติหน้าที่ชื่ออะไร เผื่อกรณีที่มีปัญหาจะได้ติดต่อได้ เมื่อตรวจสอบว่ารายละเอียดทั้งหมดถูกต้องแล้วจึงลงลายมือชื่อรับเอกสารนั้น
ใบเคลมถือเป็นเอกสาร หลักฐานสำคัญ ที่ผู้ขับขี่จะต้องได้รับหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ ( กรณีที่ประกันประเภท 1, 2+, 3+ ผู้เอาประกันจะต้องได้รับ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูก หรือ ฝ่ายผิด ในอุบัติเหตุครั้งนั้นก็ตาม แต่ถ้าเป็นการประกันประเภท 2, 3 จะได้รับกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น และจะได้รับจากบริษัทประกันของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด ) ในกรณีผู้เอาประกันได้รับใบเคลมจากพนักงานของบริษัทประกันของผู้เอาประกันเอง ก็สามารถนำใบเคลมนั้นเข้าซ่อมศูนย์ หรือ อู่ คู่สัญญาของบริษัทประกันนั้นได้เลย แต่ถ้าในกรณีที่ประกันประเภท1 และผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก บางครั้งเพื่อประหยัดเวลาจึงไม่ได้เรียกประกันของตนมา บริษัทของคู่กรณีก็จะออกใบเคลม ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้เพื่อความแน่นอนในการเคลม ควรนำใบเคลมดังกล่าวและรถยนต์ที่เกิดเหตุเข้าไปติดต่อบริษัทประกันของตนเอง เพื่อเปลี่ยนเป็นใบเคลมบริษัทประกันที่ตนเองประกันจะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้ความน่าเชื่อถือ และ อายุการใช้งานของใบเคลมนั้นยาวขึ้น และที่สำคัญก็จะแน่ใจได้อย่างเต็มที่ว่าความเสียหายนั้นสามารถซ่อมได้อย่างแน่นอน ในบางครั้งเมื่อได้รับเอกสารมาจากพนักงานเคลม ควรอ่านดูให้ละเอียดว่าเป็นใบอะไร เพราะบางครั้งพนักงานจะออกให้เพียงใบติดต่อ มิใช่ใบเคลม ซึ่งอาจมาจากพนักงานที่ออกตรวจสอบที่เกิดเหตุนั้นเป็นเพียง Surveyor ที่บริษัทประกันใช้บริการอีกทีหนึ่ง หรืออาจเกิดจากกรมธรรม์ของคุณยังมีปัญหาเช่นอาจยังค้างการชำระเบี้ย หรือปัญหาอาจเกิดขึ้นจากตัวคนขับ เช่นไม่มีเอกสารใบขับขี่มายืนยัน ดังนั้นทุกครั้งที่ได้รับเอกสารต้องตรวจดูอย่างละเอียด เพราะหมายถึงสิทธิประโยชน์ของคุณที่จะตามมานั่นเอง
เป็นกรณีที่รถมีความเสียหาย และในการซ่อมครั้งนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ หรือชิ้นส่วนบางตัว ที่ต้องมีเรื่องค่าเสื่อมเข้ามาเกี่ยวข้อง คือเป็นอะไหล่ที่เมื่อครบอายุการใช้งานก็ต้องมีการเปลี่ยนอยู่แล้ว แม้ไม่มีอุบัติเหตุก็ตาม เช่น ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ และ อื่นๆ ซึ่งประกันจะคิดค่าเสียหายส่วนแรกในอะไหล่ประเภทนี้อยู่ที่ 50% ดังนั้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ประกันก็จะจ่ายค่าแบตเตอรรี่ให้เพียงครึ่งเดียว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ นอกจากว่าจะมีหลักฐานว่าพึ่งเปลี่ยนมาโดยมีใบเสร็จแสดงการเปลี่ยนชัดเจน ประกันก็จะอนุโลมจ่ายให้เต็มจำนวน อะไหล่หรือชิ้นส่วนประเภทนี้ นอกจาก ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ก็จะมี ยางรองแท่นเครื่อง และอื่นๆ …. ในบางครั้งถ้าเกิดอุบัติเหตุหนักและเสียหายจนถึงตัวเครื่อง และต้องมีการเปลี่ยนถ่ายของเหลวออก ส่วนที่เป็นของเหลวทั้งหลาย เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรค น้ำมันเกียร์ และอื่นๆ ทางประกันจะให้ผู้เอาประกันรับผิดชอบเต็มจำนวน เนื่องจากของเหลวพวกนี้ โดยส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานสั้นอยู่แล้วครับ
กรณีการเคลมสีรอบคัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ อยากทำสีใหม่ทั้งคันนั้นแหละครับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่การเคลมลักษณะนี้บางตำแหน่งก็อาจมีแผลจริง บางตำแหน่งก็อาจไม่มีแผล ( ตำแหน่งของผมเนี่ย หมายถึงตำแหน่งของตัวรถครับ เช่น ฝากระโปรงหน้า ประตูหน้าซ้าย บังโคลนหลังขวา …. ซึ่งถ้านับกันรอบคันก็จะอยู่ประมาณ 15 ตำแหน่ง ครับ ) โดยตำแหน่งที่มีแผลจริงๆ ประกันเขาก็ไม่ซีเรียสหรอกครับ แต่ตำแหน่งที่ไม่มีแผลนี่แหละคือที่มาของส่วนร่วม คือลูกค้าอยากทำสีรอบคัน แต่พนักงานเคลมเขาดูแล้ว ก็เห็นว่า กันชนหลัง ประตูหน้าซ้าย บังโคลนหน้าขวา ( ยกตัวอย่างนะครับ ) มองยังไงก็ไม่มีแผล ก็คือรู้แหละครับว่าลูกค้าอยากทำสีรถใหม่ เพราะลูกค้าคิดว่าทำสีทั้งทีเขาก็อยากทำมันให้หมด ก็เค้ากลัวสีจะไม่เหมือนกันทั้งคันหนิครับ การที่พนักงานเคลมงานจะบอกลูกค้าว่าเคลมไม่ได้เพราะไม่มีแผล ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้และสุดท้ายเคลมเขาก็รู้ครับว่ายังไงก็ต้องให้ลูกค้าเคลมตำแหน่งนั้นอยู่ดี แต่รู้ไหมครับว่าการทำสีตำแหน่งหนึ่งเนี่ยเป็นเงินประมาณเท่าไหร่ เอาเป็นว่ายกตัวอย่างแค่ฝากระโปรงหน้าชิ้นเดียวแล้วกัน ถ้าเป็นอู่ดีๆ ก็ตกอยู่ชิ้นละประมาณ 2,500 – 4,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่าเป็นรถยี่ห้ออะไร แต่ถ้าเข้าศูนย์ ถ้าเป็นศูนย์เบนซ์ ชิ้นนึงก็ไม่ต่ำกว่า 6,000บาท ถ้าเป็นศูนย์โตโยต้า ก็อาจอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท นี่แหละครับคือเหตุผลที่บริษัทประกันเขาต้องคิดส่วนร่วมสำหรับ […]
สำหรับผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ คือขับได้อย่างเดียวแต่ไม่รู้ถึงกลไกการทำงาน และวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น ผมอยากจะแนะนำให้อ่านกรณีนี้ไว้เป็นกรณีศึกษา เพราะผลจากการที่ไม่รู้มันแพงมากครับ คือ กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นกับหม้อน้ำ หรือ เกิดขึ้นกับระบบระบายความร้อน มีหลายๆ ครั้งที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วดูเหมือนรถยนต์ยังสามารถขับต่อไปได้ แต่ท้ายที่สุดเครื่องจะน็อคและมีปัญหาตามมา โดยส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วทำให้หม้อน้ำเสียหาย อาจจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้น คือขับรถชนสุนัขที่ข้างถนน แต่เนื่องจากเกิดเหตุตอนดึกผู้ขับขี่จึงมิได้จอดแต่ขับต่อไป ตอนเช้าตั้งใจจะขับไปเปิดเคลมและซ่อมที่อู่ แต่เครื่องดับกลางทาง , ขับไประหว่างทางมีเศษเหล็กกระเด็นถูกหม้อน้ำแต่ไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีเครื่องดับ หรือแม้กระทั่งเกิดอุบัติเหตุเสียหายด้านหน้า พนักงานเคลมมาเปิดเคลม แต่ไม่สามารถเปิดฝากระโปรงหน้าได้ เกรงว่าเปิดแล้วจะปิดไม่ได้ จึงเปิดเคลมให้แล้วให้ใช้รถต่อไป ต่อมาเครื่องดับ หรือเป็นกรณีอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันที่ลงท้ายด้วยเครื่องดับ ทราบหรือไม่ว่าก่อนที่เครื่องจะดับในทุกกรณีนั้น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความร้อนภายในเครื่องมันจะมีสัญญานบ่งบอกทุกครั้ง ตั้งแต่เกย์ความร้อนส่งสัญญานเตือน , เหยียบคันเร่งแต่เร่งไม่ขึ้น เครื่องสั่นและมีเสียงแปลกๆ ถ้าคุณพบสัญญานเตือนเหล่านี้สิ่งที่คุณต้องทำคือ ดับเครื่องทันที อย่าฝืนขับรถต่อไปเป็นอันขาด เพราะมันจะนำมาซึ่งความแตกต่างของค่าซ่อมแซมอย่างมโหฬาร คือในกรณีที่คุณดับเครื่องแล้วปล่อยให้เครื่องเย็นลงจึงค่อยๆเติมน้ำเข้าหม้อน้ำ คุณก็สามารถขับรถต่อไปที่อู่ได้ หรือถ้าไม่แน่ใจก็เรียกรถยกมายกเข้าอู่ ค่าซ่อมอย่างมากก็แค่หม้อน้ำหรือชิ้นส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางประกันเขารับผิดชอบหมดแม้กระทั่งค่ารถยก แต่ในทางกลับกันถ้าคุณไม่ดับเครื่อง แต่ยังคงเหยียบคันเร่งจนเครื่องดับ บอกได้อย่างเดียวว่าคุณต้องลุ้นจนตัวโก่ง เพราะถ้าผลจากการที่คุณยังคงฝืนขับต่อแล้วความร้อนที่เกิดขึ้น มันได้ไปทำลายเครื่องยนต์ของคุณ ขอบอกเลยครับว่าประกันภัยจะปฎิเสธความเสียหายในเรื่องเครื่องยนต์ทันที อธิบายง่ายๆ อย่างนี้ว่าความเสียหายเบื้องต้นของคุณอาจจะเพียงหม้อน้ำ แต่เนื่องจากการขับรถต่อไปของคุณจึงทำให้ความร้อนเพิ่มสูงขึ้น อันตรายจากความร้อนนี้อย่างแรกจะไปทำลายประเก็นฝาสูบก่อน […]
การซ่อมอู่นอกเครือ หรือ เบี้ยซ่อมอู่แต่ นำรถไปซ่อมที่ศูนย์ กรณีดังกล่าว เป็นกรณีที่มีความยุ่งยากในเรื่องขั้นตอน และ อาจต้องมีการจ่ายค่าซ่อมเพิ่มเติม อย่างที่เคยที่กล่าวไว้ในเรื่องการซ่อมรถในอู่โครงการ ว่าบริษัทประกันต้องการให้ลูกค้านำรถเข้าซ่อมในอู่ในโครงการ เพราะบริษัทประกันจะง่ายในการจัดการรวมถึงราคาก็เป็นที่ตกลงกันดีแล้ว แต่ถ้าลูกค้าต้องการซ่อมอู่นอกเครือจริงๆ ก็สามารถทำได้ครับแต่จะมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาคือ เมื่อคุณนำไปเข้าซ่อมจะไม่สามารถเข้าซ่อมได้เลย คุณต้องให้อู่นั้นทำการตีราคาค่าซ่อม ตามความเสียหายในใบเคลมก่อน แล้วจึงนำไปตีราคานั้นไปให้บริษัทประกันคุมราคาว่าสามารถรับผิดชอบตามนั้นได้หรือไม่ การคุมราคานี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าอู่ที่คุณนำรถเข้าซ่อมจะบริการหรือไม่ ซึ่งคุณก็แค่มอบอำนาจในอู่ไป แต่ถ้าอู่ไม่ทำคุณก็จะต้องดำเนินการเอง โดยการคุมราคานี้ก็จะออกมาได้ 2 แนวทางคือประกันรับผิดชอบตามราคาที่เสนอมา ( ซึ่งปกติกรณีนี้มีน้อยมากๆ ) หรือ ประกันให้ต่ำกว่าราคาที่เสนอมา ดังนั้นส่วนที่เกินคุณก็ต้องจ่ายครับ ผมถึงแนะนำไงว่าอย่าพึ่งซ่อมคุมราคาก่อน เพราะถ้าคุณซ่อมเลยและปรากฎว่าบริษัทประกันเขาคุมราคามาต่ำกว่ามาก คุณก็จะต้องจ่ายส่วนต่างมากครับ นอกจากนั้นยังไม่พอเมื่อรถซ่อมเสร็จคุณอาจจะต้องสำรองเงินจ่ายให้กับอู่ไปก่อน แล้วค่อยนำรถเข้าไปที่บริษัทประกันเพื่อตรวจสภาพว่ามีการซ่อมมาเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถเบิกเงินคืน อย่างที่บอกพอเป็นอู่นอกโครงการประกันก็จะไม่วิ่งไปที่อู่ ดังนั้นทุกขั้นตอนก็จะกลายเป็นลูกค้า ต้องวิ่งเข้าหาบริษัทประกันแทนครับ แต่ถ้าบางอู่เขาดำเนินการตั้งเบิกให้คุณก็อาจจะไม่ต้องสำรองจ่ายหรือยุ่งยากเรื่องขั้นตอนเหล่านี้ครับ ส่วนกรณีที่กรมธรรม์ของคุณซ่อมอู่ แต่คุณนำรถเข้าไปซ่อมศูนย์ บอกเลยครับแม้คุณอาจจะไม่ยุ่งยากเรื่องการคุมราคา เพราะศูนย์จะดำเนินการให้ แต่ว่าคุณต้องจ่ายส่วนต่างในการซ่อมอย่างน้อย 30% ของราคาซ่อมแน่นอน เพราะค่าซ่อมที่ศูนย์คิดกับบริษัทประกันนั้น จะสูงกว่าที่บริษัทประกันจ่ายให้กับอู่ ในความเสียหายลักษณะเดียวกัน ดังนั้นเมื่อบริษัทประกันจ่ายค่าซ่อมแพง เขาก็ดึงคุณเข้ามาร่วมในการจ่ายค่าซ่อมนั้นครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 30% ของค่าซ่อมนั้นๆ