หลักส่วนได้ส่วนเสีย

ถือเป็นหลักที่สำคัญมากในการทำประกันภัย พูดง่ายๆก็คือ ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้หรือส่วนเสียกับทรัพย์สินที่ทำประกันภัย หาไม่แล้วก็จะไม่ผูกพันกับบริษัทประกันให้ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพคือ ถ้าสุชาติเป็นเจ้าของบ้าน สุชาติก็ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียกับบ้านหลังนั้น ดังนั้นสุชาติก็สามารถที่จะทำประกันบ้านหลังดังกล่าวได้ แต่ถ้าสมชายเดินผ่านบ้านหลังหนึ่งแล้วมีลางสังหรณ์ว่าบ้านหลังนี้จะถูกไฟไหม้ จึงไปทำประกันบ้านหลังนี้ไว้ แม้ว่าบริษัทประกันจะรับทำเนื่องจากไม่รู้ความจริงว่าสมชายมิได้มีส่วนได้เสียในบ้านหลังนี้ ถ้าต่อมาบ้านหลังนี้ถูกไฟไหม้จริง บริษัทประกันก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้แก่นายสมชาย เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกัน ผลคือย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญา

แล้วขอบเขตของการมีส่วนได้เสียมันเป็นอย่างไร ความสัมพันธ์แบบใดที่ถือว่ามีส่วนได้เสีย
– ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธ์ คือเป็นเจ้าของ
– ในฐานะผู้ทรงสิทธิ์ เช่น ผู้รับจำนอง ผุ้รับจำนำ เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้เช้าซื้อ
– ในฐานะผู้ครอบครอง เช่น ผู้เช่า ผู้ยืม ผู้รับฝาก

บุคคลในความสัมพันธ์ต่างๆ เหล่านี้ ถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพย์สินและสามารถทำประกันได้ โดยผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้ส่วนเสียขณะทำสัญญาประกันภัย หรือในการประกันภัยบางประเภทก็อนุโลมให้ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้ส่วนสียขณะเกิดภัยได้